top of page

ผู้ดับไม่เหลือ There is no “I” and “Mine”



คำว่าดับไม่เหลือ เป็นคำที่เข้าใจยาก จะเรียกว่ายากที่สุดก็ได้ ในภาษาธรรมะด้วยกัน. คำว่าดับไม่เหลือ ไม่ได้หมายความว่าตายแล้วเผาฝัง. คำว่าดับไม่เหลือหมายถึง ดับไม่เหลือแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความรู้สึกว่าตัวกู ว่าของกู ว่าตัวกูว่าของกูน่ะ เกิดขึ้นมาเมื่อไรมันก็มีตัวตนเมื่อนั้น, มีความรู้สึกว่าตน แล้วก็มีตนเมื่อนั้น. ถ้าว่าดับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงเสีย ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตนว่าของตน นั่นแหละจึงจะเรียกว่า “ดับไม่เหลือ”.


ในภาพนี้มีอะไรลุกขึ้นมาจากสะดือของบุคคลในภาพนั้นเวียนออกไปเป็นคนนานาชนิด นั่นแหละเป็นการปรุงแต่งออกไปจากจิตใจ มีมากมาย เป็นความเกิดอันมากมาย อันไม่รู้จักสิ้นสุดตลอดเวลาที่ยังมีอวิชชา. ทีนี้ก็มาถึงตอนที่จะเปลี่ยนฉากใหม่ ได้ผ่านโลกผ่านทุกข์ ความทุกข์มามากพอแล้ว เกิดความเข้าใจเห็นได้ว่า อย่างนั้นเป็นความโง่เขลา เป็นการปรุงแต่งให้เกิดตัวตนของตน แล้วก็ขบกัดตนอย่างเหลือประมาณ จึงน้อมจิตไปในทางที่จะไม่ให้เกิดตัวตน หรือดับตัวตนเสีย ไปศึกษาเล่าเรียนเรื่องเกี่ยวกับการปรุงแต่งมาอย่างครบถ้วน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถึงกันเข้าแล้วก็ปรุงแต่งเป็นเกิดเป็นตัวตน เกิดตัวกูของกูขึ้นมา ในความรู้สึก. ถ้ามีสติปัญญาพอ แม้จะถึงกันเข้ามันก็มีสติปัญญาพอที่จะควบคุมไม่ให้ปรุงแต่งเป็นตัวตนขึ้นมา นี้เรียกว่าดับตัวตน ป้องกันการเกิดแห่งตัวตน แล้วก็ดับไปแห่งตัวตน จนกระทั่งไม่มีเหลือ, ความทุกข์ก็ไม่มี. ความทุกข์เกิดมาจากความรู้สึกว่ามีตัวตนหรือของตนเสมอไป, เป็นใจความสั้น ๆ ว่า การยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนนั่นแหละ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. สำคัญอยู่ที่เบญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พอยึดมั่นส่วนใดส่วนหนึ่งเข้ามันก็เกิดเป็นตัวตนขึ้นมา ไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยโดยประการทั้งปวง ตลอดเวลาทั้งปวง มันก็ไม่เกิดตัวตนขึ้นมา, เรียกว่าดับไม่เหลือ เป็นการดับทุกข์ในทุกแง่ทุกมุม ทีนี้เรา ก็ไม่ต้องเรียนเรื่องทุกเรื่องอะไรให้มากเรื่อง จะเรียนเรื่องดับไม่เหลือ อย่างเดียวก็พอ แล้วก็พยายามให้ความรู้เรื่องดับไม่เหลือนี้เป็นเครื่องกำกับอยู่ตลอดเวลา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะดับจิตคือ ดับกายหรือตายนั่นน่ะ ให้มีความรู้เรื่องดับไม่เหลือเข้ามาเกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด จะได้ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลือสำหรับจะเกิดอีก.

 

This is the picture of a free man because he can let go of clinging to desire.


‘To let go’ in this sense is not to let go of the act but to let go of the attachment. Letting go, letting be because most of our troubles are due to our passionate desire for and attachment to things that we misapprehend as enduring entities. Letting go removes the drama around our problem, and leaves us with nothing to stress about.


In the picture many people come out from the man’s navel representing delusion or ignorance. Avijja is ignorance of the four Noble Truths. Underlying the Four Noble Truths is the teaching on not-self (anatta). An even more basic definition of avijja is the held belief that: I am the five khandhas. I believe that the five khandhas are me, that they are mine and that they constitute my-self. This parallels the Buddha's summary definition of suffering as "the grasping of the five khandhas"


Because the man does not know the truth of suffering, he seeks pleasant sense objects. His ignorance leads to effort and activity and illusion. Not being mindful, he is blind to the unsatisfactory nature of all sense objects. His ignorance gives rise to craving which later on develops into attachment.


Meditation helps us learn to let go and helps us practice letting go on a regular basis. It’s really only when we let go that we are able to be detached from what acts on our lives from outside. It’s only when we let go that we experience the freedom of detachment from results. The Buddha said, “The mind is the source of happiness and unhappiness.”


“Peace comes from within. Do not seek it without.”


bottom of page