ภาพแสดงความว่าง หรือ สุญญตา Sunyata
เนื่องจากมีการปฏิบัติไปกันในแนวยึดความว่างหรือสุญญตากันอย่างผิดๆ ยึดในความว่าง พยายามทำให้ว่างจากความคิดความเห็นอย่างผิดๆ จึงปฏิบัติไปในลักษณะหยุดคิดหยุดนึก ไปยึดความว่าง เนื่องจากในช่วงแรกจิตไม่ซัดส่ายส่งออกไปปรุงแต่ง จึงเกิดความสุขสบายขึ้นบ้าง แต่ก็ยังโทษยิ่งในภายหลัง จึงนำความหมายของ สุญญตา จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยท่านพระธรรมปิฎก มาแสดงดังนี้
สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
๓. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
๔. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; (อันนี้ เป็นความว่างอย่างอรูปฌาน ที่นักปฏิบัติหลงกระทำกันมาก แม้ในชีวิตประจำวัน โดยการพยายามหยุดคิดหยุดนึกโดยขาดปัญญาหรือหลักการ)
Sūnyatā, (Pali), is a Buddhist term that is translated into English as emptiness, openness, thusness, etc. This voidness that constitutes ultimate reality is seen not as a negation of existence but rather as recognition of anattā, or the absence of any self apart from the five skandhas (mental and physical elements of existence) and dependent origination.
All is void (Sunyata) express the sense that all we see, feel and observe is relative, in fact non-essential and not self-sustaining. For Buddhists, the main topic of the training in wisdom is emptiness, or selflessness, which means the absence of a permanent, unitary and independent self or, more subtly, the absence of inherent existence either in living beings or in other phenomena. The teaching of voidness does not really mean that everything is nothing but that everything is empty of being whatever one thinks it is. The realization of sunyata leads one to no attachment and clinging. It is the skillful means towards enlightenment and also the fruit of enlightenment. "Empty" things are neither existent nor nonexistent, and their true nature is thus called not only emptiness but also suchness (tathata).