top of page

ขายบัตรเบิกทางไปสวรรค์ Selling Tickets to Heaven


Selling Tickets to Heaven

เรา ทั้ง 4 คน ขอบอกท่านทั้งหลายว่า เมื่อใดองค์การทางศาสนาทำหน้าที่ขายบัตรเบิกทางไปสวรรค์ เมื่อนั้นการรีดไถบนหลังทายก ทายิกา จักมีเป็นแน่นอน"


ภาพแสดงถึงความเห็นแก่ตัวของคน ซึ่งซับซ้อนขี้นอีกระดับหนี่ง ขนาดใช้เครื่องแบบของนักบวช เป็นเครื่องมือทำมาหากิน โดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่า "สวรรค์" เป็นเครื่องมือต้มหลอกลวงชาวบ้าน สำหรับหาเงินจากชาวบ้าน


วัดอตัมมยตาราม จะไม่หลอกลวงชาวบ้าน จะให้ความรู้


บุญ มาจากคำว่า ปุญฺญ แปลว่าเครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ การทำบุญคือการกระทำเพื่อเป็นการชำระจิตใจให้สะอาด ทีนี้มาดูหลักธรรมที่เกี่ยวข้องบ้างว่า บุญ คืออะไร

บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ประกอบด้วย ทาน ศีล และภาวนา


ทาน คือ กุศโลบายเพื่อกำจัดกิเลสอย่างหนึ่งที่เป็นการเสียสละ ในเมื่อคนสามารถเสียสละได้แล้วก็ย่อมไม่อยากได้ของคนอื่น และเป็นพื้นฐานของการทำลายกิเลส ประกอบด้วย อามิสทาน การให้สิ่งของเป็นทาน ธรรมทาน การให้ความรู้ ความดีงามเป็นทาน และสุดท้าย อภัยทาน การรู้จักให้อภัย และการไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นเป็นทาน


ศีล คือ การสำรวมกาย วาจา ใจ เพื่อไม่ให้ก่อเกิดกิเลส ลด ละ เลิกความชั่ว ถือว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ ประกอบด้วย การไม่เบียดเบียน ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การไม่ลัก ยักยอกทรัพย์ การไม่ประพฤติในกาม, การไม่พูดปด พูดส่อเสียดและสุดท้ายการไม่คิดอาฆาตมาดร้าย จองเวรจองกรรมผู้อื่น


ภาวนา คือ การพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง ทำให้จิตใจสงบ ไม่เกิดกิเลส ไม่มีเครื่องเศร้าหมอง เป็นการพัฒนาขั้นสูงสุด ประกอบด้วย สมถกัมมัฏฐาน อันเป็นกุศโลบายทำให้ใจสงบ และวิปัสนากัมมัฏฐาน กุศโลบายทำให้เกิดปัญญาจากการตริตรอง


เมื่อปฏิบัติทั้งสามอย่างที่กล่าวถึงได้ถือว่าได้บุญคือ จิตใจบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง


หลวงพ่อพุทธทาส ได้เปรียบเทียบบุญไว้ 3 แบบคือ

"บุญ"มีความหมายสำคัญชั้นสูงสุดว่า "เครื่องชำระล้างบาป" เปรียบเหมือนกับว่า เราใช้น้ำอาบล้างตัวเราให้สะอาด คนบางพวก ใช้น้ำโคลนอาบ เพราะไม่มีน้ำสะอาดจะอาบ อีกพวกหนึ่ง ใช้น้ำที่ละลายด้วยเครื่องหอมต่างๆอาบ และพวกสุดท้ายใช้สบู่และน้ำที่สะอาดอาบ คนที่อาบน้ำโคลน อาบเสร็จแล้วก็ยังมีโคลนติดอยู่ที่ตัว คนที่อาบน้ำหอม อาบเสร็จแล้วก็ยังมีเยื่อของเครื่องหอมติดอยู่ที่เนื้อที่ตัว ส่วนคนที่อาบน้ำสะอาด อาบเสร็จแล้วไม่มีอะไรติดอยู่ที่เนื้อที่ตัว เป็นเนื้อตัวที่สะอาด เมื่อเปรียบการอาบน้ำล้างตัวด้วยการทำบุญ การทำบุญก็มี 3 อย่าง เช่นเดียวกัน


ทำบุญเหมือนกับน้ำโคลน ก็คือพวกที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาทำบุญให้ทาน ฆ่าวัวฆ่าไก่เลี้ยงสุรายาเมา ทำการตามประสาคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแต่เรื่องกินเป็นใหญ่ แล้วก็ฆ่าสัตว์ทำบุญ หรือทำบุญเอาหน้า ทำเพื่ออวดคน เป็นการค้ากำไร บุญนี้เหมือนกับน้ำโคลน คนนั้นได้ผลเหมือนอาบน้ำโคลน

คนอีกพวกหนึ่ง ทำบุญด้วยอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในบุญ เมาบุญ เมาสวรรค์วิมาน ถ้าทำบุญด้วยความคิดอย่างนั้น ก็เหมือนกับอาบน้ำที่เจอด้วยแป้งปูนของหอม


อีกพวกหนึ่ง ทำบุญเพื่อจะละเสียซึ่งความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดว่าเป็นตัวเราหรือของเรา ทำเพื่อให้กิเลสหมดไปจากสันดาน อย่างนี้เหมือนคนอาบน้ำสะอาด ได้เนื้อตัวที่สะอาด

และหากเราทำบุญถูกวิธีแล้วอานิสงฆ์ผลบุญนั้นยังก่อเกิดประโยชน์ 3 ด้านคือ


ด้านตัวตน คือ หมดจากกิเลส สดใส ใจบริสุทธิ์

ด้านสังคม คือ สร้างกิจประโยชน์ต่อชุม่ชนและสังคม ทำให้มีกิจกรรมร่วม มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่เกิดความเอาเปรียบ

ด้านปัญญา คือ ทำให้คุณภาพชีวิตของสังคมของเรานั้น ดีขึ้น ทำให้เกิดสติ ปัญญา สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างสงบสุข


ขอให้พวกเราชาววัดอตัมมยตารามจงเลิก สร้างบาปมาทำบุญ เลิกทำบุญเอาหน้า และเลิกทำบุญหวังสวรรค์วิมาน มาทำบุญเพื่อทำให้กิเลส ลดลงๆจนค่อยๆหมดไปในที่สุดเถิด

 

The idea of heaven as a physical place has existed since the dawn of religion and human civilization but religions speaking about heaven differ on how one gets into it, either in the afterlife or while still alive. In many religions, entrance to heaven is conditional on having lived a good life. The four religious men in this picture ‘sell’ tickets to heaven. They state that only money can give you a better place in heaven. Many religions also state that those who do not go to heaven will go to another place, hell.


“The wise man makes his own heaven while the foolish man creates his own hell here and hereafter.”


The Buddhist concept of heaven and hell is different from that in other religions. In Buddhism, the concepts of Heaven and Hell reflect the teaching that all things are impermanent. Buddhists do not accept that heaven and hell are eternal but believe that man with his free will can develop himself. Those who go to hell can work themselves upward by making use of the merit they had accumulated. Buddhists never try to introduce Buddhism by frightening people through hell-fire or enticing people by pointing to paradise. Their main idea is character building and mental training.


“Hell and Heaven exist on earth and we should strive to live our lives in a state of peace and order where we can know Heaven. Conversely, if we become upset or live in pain, then we are experiencing Hell.”


Merit (Sanskrit ‘puṇya’, Pāli ‘puñña.’) means that which accumulates as a result of good deeds, acts, or thoughts and which carries over throughout the life or the subsequent incarnations. Such merit contributes to a person's growth towards spiritual liberation. A lay Buddhist should develop the three virtues: Dana, Sila, and Bhavana. This practice is the gradual path for progressively cultivating spirituality and gaining merits.


Dana (Pali) can be translated as giving, generosity, charity, and liberality. The three types of generosity are:


Gift of material goods like food, clothes and money.


Gift of the spirit such as giving someone encouragement, inspiration, reassurance, love, protection and hope.


Gift of Dhamma, the gift that keeps giving; gifts that help the recipient to help themselves. This third level is along the lines of, "Give a man a fish, he eats for a day; teach a man to fish, he eats for a lifetime." This gift has great powers to change a life.


Buddhism views charity as an act to reduce personal greed, an unwholesome mental state that hinders spiritual progress. The Buddha said, "Generosity brings happiness at every stage: in framing the intention, in the act of giving, and in rejoicing afterward."


Sīla (Pāli) refers to morality, ethics or right conduct. Sīla comprises three stages along the Eightfold Path—right speech, right action, and right livelihood. Sila encompasses several different levels including basic morality, novice monkhood, and monkhood.


Basic morality for laity are the Five Precepts (pañca-sila), which are refraining from taking life, from taking what is not given, from sensual misconduct, from lying, and from intoxicants causing the loss of mindfulness.


Laity doing intensive meditation practice should observe the Eight Precepts.


Novice monks (samanera) observe the Ten Precepts.


A fully-ordained monk (bhikkhu) follows the 227 rules of the Bhikkhu Patimokkha.


A nun (bhikkhuni) would follow the 311 rules of the Bhikkhuni Patimokkha.


The morality found in all these precepts can be summarized in three simple principles: 'To avoid evil; to do good, to purify the mind.' This is the advice given by all the Buddhas. --- (Dhammapada, 183)


The distinction between what is good and what is bad is very simple: all actions that have their roots in greed, hatred, and delusion that spring from selfishness foster the harmful delusion of selfhood. These actions are demeritorious, unskillful, and bad. They are called Akusala Kamma. Those actions which are rooted in the virtues of generosity, love and wisdom are meritorious, Kusala Kamma. The criteria of good and bad apply whether the actions are of thought, word or deed.


Bhavana (human mental development or insight meditation, purify the mind) is how to develop our human mind. The Buddha said, “Bhavana is the fence of mind which protects us from wrong thinking, which is the cause of suffering.” He also said, “If the mind is trained to know itself, it will know its duties, big or small.” Those who always train the mind think before doing an action. All the works done by the trained mind will give rise to good fruit in the future.


bottom of page