top of page

ขันธ์ ๕ The Five Aggregates



ขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์คือ

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือ สสารและพลังงานฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งคุณสมบัติและพฤติการณ์ ต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น ๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ ๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ความกำหนดได้หรือหมายรู้คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้ ๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ โดยมีเจตนาเป็นตัวนำพูดง่ายๆ ว่า ความนึกคิดดีชั่ว ต่างๆ เช่น ศรัทธา สติหิริโอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โทสะ โลภะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น ๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น รู้เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มัน เป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุข หรือทุกข์หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนา อันเป็นสุข หรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเมื่อผู้นั้นไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษ ตระหนักอยู่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป อนึ่ง ตัณหาที่เป็นตัว การก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิด เพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็จะถูกละไปด้วยความกระวนกระวายทางกายก็ดีความกระวนกระวายทางใจก็ดีความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดีย่อมถูกเขาละได้ ผู้นั้น ย่อมเสวย ทั้งความสุขทางกาย ทั้งความสุขทางใจบุคคลผู้เป็น เช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ, มีความดำริใด ความดำรินั้ นก็ เป็นสัมมาสังกัปปะ, มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นสัมมาวายามะ, มีความระลึกใดความระลึกนั้น ก็เป็นสัมมาสติ, มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ, ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว; ด้วยประการดังนี้เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐังคิกมรรคอันถึงความเจริญบริบูรณ์ (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)


มูลเหตุแห่งทุกข์ อันหนี่งก็คือ การที่จิตไปยีดมั่นว่าเบญจขันธ์หรือร่างกายเป็นของตน เมื่อ แก่ เจ็บ หรือ จะตายก็เกิดความกลัวทำให้เกิดทุกข์ การแก้ไม่ให้เกิดทุกข์ก็ต้องแก้ที่เหตุคือ แก้ที่จิต จะต้อง ฝีกให้จิตยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนิจจังคือไม่เที่ยง และเป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตน เมื่อฝีกจนจิตหมดความยีดมั่นถีอมั่นแล้วเมื่อนั้นก็จะพ้นทุกข์ คีอ สภาวะ นิพพาน นั่นเอง

 

This is a common and explicit image of the khandhas as burdensome as piles of bricks we carry on our shoulders. This load brings him suffering. The way to relief his load is to realize the three characteristics of existence, namely impermanence (anicca), suffering (dukkha), and no-self (anatta). The realization that there is nothing called a permanent self within us and a ‘me’ or a ‘mine’ should bring down barriers between ‘ourselves’ and ‘others’. The Buddha stated that all volitional constructs are conditioned by ignorance (avijja) of the reality (sacca) behind appearance. It is this ignorance that ultimately causes human suffering. The calming of all such fabrications is synonymous with Enlightenment.

The Buddha taught only two topics: suffering and the end of suffering. What is suffering? How is it caused? What can be done to bring those causes to an end? The Buddha gave a short definition of suffering as "the five clinging-khandhas." The khandhas is the Buddha's answer to the question, "What is a person?" “All that we are is the result of what we have thought. The mind is everything. What we think we become” BuddhaKhandhas, the five aggregates are: Form (or body or corporeality) – physical of all sorts, both within and without the body- wears down or “de-forms”Feeling (or sensation)- pleasure, pain , and neither pleasure nor painPerception – labels or identifies objectsVolition (mental formation, thought process, volitional activities, fabrication)- intentional activity underlies the experience of form, feeling, etc., in the present moment Consciousness – cognizes the six senses along with their objects In other words, this is the Buddhist analysis of personal experience, or the personality. The Buddha elaborated: “What one intends, what one arranges, and what one obsesses about: This is a support for the stationing of consciousness. There being a support, there is a landing [or: an establishing] of consciousness. When that consciousness lands and grows, there is the production of renewed becoming in the future. When there is the production of renewed becoming in the future, there is future birth, aging & death, sorrow, lamentation, pain, distress, & despair. Such is the origination of this entire mass of suffering & stress.


”Intention is an integral part of our experience of all the khandhast. This opens the possibility that suffering can be ended by changing our intentions — or abandoning them entirely — which is precisely the point of the Buddha's teachings. "Freed, dissociated, & released from form, the Tathāgata dwells with unrestricted awareness. Freed, dissociated, & released from feeling… perception… fabrications… consciousness… birth… aging… death… suffering & stress… defilement, the Tathāgata dwells with unrestricted awareness"

- Buddha


bottom of page