top of page

เต่าหินตาบอด The Blind Stone Turtle


เต่าบอกมนุษย์ว่า อย่ามองคัมภีร์ หรือพระไตรปิฏก เป็นพระธรรม เพราะคัมภีร์นั้นเป็นเพียงใบลาน เป็นกระดาษ เป็นเพียงวัตถุ หาใช่พระธรรมไม่ พระธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นคุณธรรม ซึ่งมีได้เห็นได้ในตัวเรา เช่น ตัวเต่าหิน ความหมายของ " หิน" คือเย็น เย็นอย่างนิพพาน " ตาบอด" คือว่าไม่รับอารมณ์ทางตามาปรุงแต่งเป็นอะไร "หูหนวก" ก็คือไม่รับอารมณ์ทางหูมาปรุงแต่งเป็นอะไร

และการที่จะศึกษาคัมภีร์ หรือพระไตรปิฏกนั้น ต้องศึกษาอย่างมีปัญญา เพื่อจะนำความรู้มาปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะพระไตรปิฏกได้ผ่านการคัดลอกและเขียนเพิ่มเติมมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว หลักการที่จะใช้ในการศึกษาหาความรู้ในพระไตรปิฏกอย่างมีปัญญา ก็ต้องใช้ โยนิโสมนสิการ (มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย) ตามหลักของกาลามสูตร และมหาปเทส

 

หัวข้อธรรมที่เรียกว่ามหาปเทสที่มีไว้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของคำสอน คือ มหาปเทส 4 (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป


1. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์


2. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์


3. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์


4. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์


เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย


ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย


ข .ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึ่งลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนี้รับมาด้วยดี

 

This turtle represents us, wandering blindly in samsara. The scripture on his back symbolizes the sacred text of any religion. The text is not the true dhamma; it is just writing on paper. The real dhamma can be seen in each of us. The cold stone means the cool nibbana. Blind and deaf convey the ideas that one should not be attached to what one sees or hears because the truth does not always have to be seen with the eyes or to be heard to still be true. The purpose of this riddle is to encourage us to make the most of our life. We should realize the preciousness of our human lives, and use this opportunity to practice the Dhamma to attain enlightenment. The Buddha implores us to exercise the freedom to think and see things clearly for ourselves. He even goes further, saying that we should not believe or accept his teaching blindly. But we should realize and discover by and for ourselves what is good and what is bad.


The fruit of practicing the Dhamma is, one can discover the Truth by oneself. The Buddha said: Paccatam vedidhammo--The dhamma should be known individually. Ehipassiko, Come and see. Whether the practice is good or bad, you will know by doing it yourself. Others could not give it to you. In the Kalama Sutta, the Buddha gave the following guidelines:


“Do not accept anything based upon mere reports, traditions or hearsay, Nor upon the authority of religious texts, Nor upon mere reasons and arguments, Nor upon one's own inference, Nor upon anything which appears to be true, Nor upon one's own speculative opinion, Nor upon another's seeming ability, Nor upon the consideration: 'This is our Teacher.' 'But, when you know for yourselves the certain things are unwholesome and bad: tending to harm yourself of others, reject them. 'And when you know for yourselves that certain things are wholesome and good: conducive to the spiritual welfare of yourself as well as others, accept and follow them.'"Believe nothing no matter where you read it, or who said it, no matter if I have said it, unless it agrees with your own reason and common sense."



bottom of page