top of page

ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม Buddha-Dhamma Mountains


Buddha-Dhamma Mountains

หากเปรียบชีวิตเหมือนกับการเดินทาง ภูเขาลูกใหญ่คืออุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้เราเดินทางได้อย่างราบรื่น สะดวกสบาย ถ้าต้องการไปถึงจุดหมายนั้น เราก็ต้องข้ามภูเขาลูกใหญ่นั้นไปให้ได้


“ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” คือปาฐกถาของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุที่กล่าวถึงภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีทางแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม ท่านอธิบายไว้ว่า ภูเขาที่อันตรายที่สุด และสำคัญที่สุด แต่พวกเรามักไม่รู้ตัวว่าเป็นภูเขา คือการเห็นผิด และการยึดถือแบบผิด ๆ ดังเช่น ยึดถือพระพุทธรูปแทนพระพุทธเจ้า นำไปบูชาจนเกิดความยึดติด หากมีผู้อื่นไม่เห็นด้วย ก็ก่อการวิวาทกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น หรืออย่างละเอียดที่สุด คือยึดมั่นในพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อมีหนังอยู่ในประเทศอินเดียเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว จนไม่สามารถบรรลุถึงพุทธะองค์จริง ซึ่งเป็นความตื่นรู้ที่อยู่ในตัวเราทุกคน เหมือนคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" - "He who sees me sees the teaching and he who sees the teaching sees me.”


ยึดถือ คัมภีร์ พระไตรปิฎกใบลาน แทนธรรมะ ทำให้หลงท่องบ่น จดจำ จนลืมที่จะนำไปประยุกต์ปฏิบัติให้เกิดผลที่แท้จริงกับตัวเอง แทนที่จะหลุดพ้น ปล่อยวาง กลับกลายเป็นการยึดติดว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นถูกต้อง จนเกิดความอหังการ อุปาทานยึดมั่นถือมั่นไป


ยึดถือฝักฝ่ายนิกาย หรือตัวตนของพระสงฆ์ ทั้งที่พระสงฆ์ก็เป็นเพียงนามสมมติของผู้ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น บางครั้งเพราะความยึดติดทำให้เกิดความแตกร้าว ทะเลาะวิวาท แบ่งแยกกัน จนหลงลืมความหมายที่แท้จริง เพราะมุ่งแต่ชัยชนะของฝักฝ่ายตน


พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะให้เราออกไปจากกรงขังมากกว่าที่จะให้เพลินใจอยู่ในกรง จึงได้ตรัสไว้อย่างเด็ดขาดว่าต้องไม่ยึดถือสิ่งใดหมด รวมทั้งความยึดถือในพระองค์เองด้วย พระองค์ทรงประกาศพระองค์เองเป็นเพียงผู้คอยชี้ทางให้คนเดินไป ถ้าเราจะมาติดแจอยู่กับพระองค์แล้ว มันก็ไม่มีการเดินกันเท่านั้นเอง


ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาและไม่ควรยึดมั่นนี้เป็นหลักที่ตายตัวในพระพุทธศาสนา ศีล สมาธิ ปัญญา หรือที่เรียกว่าไตรสิกขานี้ เป็นเพียงยานพาหนะมีไว้อาศัยเดินทาง ไม่ใช่สำหรับยึดถือหรือหาบหามเอาไว้ด้วยความหวงแหน พระรัตนตรัยเป็นเพียงเครื่องหมายของความที่รอดพ้นออกไปได้ สำหรับให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จะเดินไปเท่านั้น ไม่มีตัวตนสำหรับให้ยึดถือ ขืนยึดถือก็เกิดเป็นปฏิรูปหรือของปลอมขึ้นมา ถ้าไม่รู้จักปล่อยวางกันบ้าง ก็จะกลายเป็นภูเขาขวางทางขึ้นมาเท่านั้น


จงทำจิตใจให้ว่างจากความยึดถืออย่างเดียวเถิด หน้าที่ทั้งปวงก็จะหมดลงทันที ไม่ต้องมีใครเป็นผู้ลุถึงนิพพาน นอกไปจากจิตซึ่งหมดความยึดถือว่าตัวมันเองเป็นตัวตนอย่างเด็ดขาดแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวเป็นหลักได้ว่าการลุถึงนิพพานมีได้โดยไม่ต้องมีตัวใครผู้บรรลุ การเดินทางไปจนถึงที่สุด ทุกข์ก็มีได้แล้วโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดินซึ่งเป็นคำที่ฟังยากๆ อยู่สักหน่อย แต่ถ้าพิจารณาดูให้ดี ๆ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีแต่จิตซึ่งบัดนี้หมดความสำคัญผิดยึดถือตัวเองว่าเป็นตัวตนนั่นเอง ที่เคยเป็นตัวประธานยืนโรงอยู่ตลอดเวลา เราจงมีความกล้าพอที่จะปรารถนาความมีจิตชนิดนี้ ด้วยการถอนตัวเราออกเสีย ให้ยังคงเหลือแต่จิตทำนองนั้นล้วน ๆ เถิด แล้วมันก็จะรู้ของมันเองว่า ภูเขาได้พังทลายลงไปด้วยอาการอย่างไร

 

Life is a journey and mountains are obstacles that we have to overcome. The most dangerous obstacle is the wrong view. Those who have the wrong views are for examples: Idol worshippers, religious fanatics, self-proclaimed messiahs, Buddha image worshippers, etc. The Buddha cautioned us not to cling to anyone or anything –- not even the Buddha because he is only the teacher who points the way to be free from sufferings. It is up to each of us to work to liberate ourselves.


“It is you who must make the effort.

Masters only point the way.” - Buddha


The three fundamental concepts of the Buddha’s teaching are the Tri-sikkha namely: Sila (morality), Samadhi (concentration), and Panna (wisdom or insight). These three training steps form the essence of the Noble Eightfold Path. They are vehicles bringing practitioners closer to destination. Right View supports wisdom. Wisdom in this sense is the understanding of things as they are, as explained in the teachings of the Four Noble Truths.


Right view occurs when we see things simply, as they are, without name and label. It is an open and accommodating attitude. We abandon hope and fear and take joy in a simple straight-forward approach to life.


The Four Noble Truths is the Buddha's first sermon after his Enlightenment. The truths are: The truth of suffering (dukkha) The truth of the cause of suffering (samudaya) The truth of the end of suffering (nirhodha) The truth of the path that frees us from suffering (magga)


In general, views are produced by and in turn produce mental conditioning. They are symptoms of conditioning, rather than neutral alternatives individuals can dispassionately choose.


The Buddha, having attained the state of unconditioned mind, is said to have "passed beyond the bondage, tie, greed, obsession, acceptance, attachment, and lust of view."


Those who wish to experience nibbana must free themselves from everything binding them to the world, including philosophical and religious doctrines. Right view as the first part of the Noble Eightfold Path leads ultimately not to the holding of correct views, but to a detached form of cognition.


The Buddha is the Awaken One. He awakened to the fact that there is an undying happiness, and that it can be attained through human effort. The human effort involved in this process ultimately focuses on the question of understanding the nature of human effort itself.


The Buddha said, “Whoever sees me sees the teaching and whoever sees the teaching sees me.”


Any human being can become a Buddha if he wishes and strives for it.


“There is Buddha for those who don't know what he is, really. There is no Buddha for those who know what he is, really”

- Zen proverb



bottom of page