top of page

สัจจานุโลมิกญาณ A Ship Sailing on a Stormy Ocean


สัจจานุโลมิกะญาณ : สัจจานุมิกะญาณ เป็นญาณพร้อมที่จะบรรลุมรรคผล นับญาณนี้เป็นวิปัสสะนาญาณที่ ๙

ภาพเรือสำเภา มีคนและอุปกรณ์พร้อมสำหรับการข้ามมหาสมุทร ตามความหมายของธรรม หมายถึงการข้ามฟากจากฝั่งนี้ คือ วัฏฏสงสาร ไปสู่ฝั่งโน้นจงสังเกตในภาพทางท้ายเรือ แสดงเป็นไฟลุกโพลง คือฝั่งนี้อันเป็นฝ่ายวัฏฏสงสารหรือฝ่ายทุกข์ ทางฝั่งหัวเรือแสดงด้วยแก้ว ๓ ดวงอยู่ในพาน ดวงแก้วนั้นแทนนิพพานหรือฝั่งโน้น คือพ้นไปจากทุกข์

ในท้องทะเลเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายหรือปลาร้าย นั่นคือโทษของวัฏฏสงสาร เรือลำนี้เรียกว่า ‘อัตตภาพภาวนา’ คือตัวคนนั้นเอง ตัวลำเรือแท้ ๆ เปรียบเหมือนร่างกาย จิตเปรียบเหมือนนายเรือ คนและสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอุปกรณ์และเป็นลูกเรือ

เราจะต้องนึกถึงธรรมะหลาย ๆ อย่างที่จำเป็นต้องปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ คือ ธรรมะที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรคโดยตรง และ ชื่ออื่น เช่น ศรัทธา เป็นต้น ธรรมะเหล่านี้นำมาเปรียบกับอุปกรณ์เพื่อหาความหมายที่ตรงกัน สำหรับสัมมาทิฏฐิหรือปัญญานั้น เป็นธรรมะสำคัญ เปรียบเหมือนนกสมุทรภาคีบนยอดเสากระโดงเรือ นกนี้เขาเลี้ยงไว้ประจำเรือเพื่อหาทิศทางเมื่อเรือหลงทางในมหาสมุทร นี้หมายถึงว่าเป็นความคิดในสมัยที่ยังไม่รู้จักใช้เข็มทิศในการเดินเรือ เป็นสมัยราว ๓ พันปีมาแล้ว จึงเปรียบนกชนิดนี้ว่าเป็นปัญญา หรือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีในฐานะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่หัวเรือ มีเจ้าของเรือยืนอยู่ เปรียบได้กับจิตที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเข็มทิศนำทาง ท้ายเรือมีกัปตันผู้บังคับเรือถือท้ายอยู่นี้เปรียบได้กับสัมมาสติ แล้วยังมีลูกเรือที่เข้มแข็ง ทำหน้าที่ตรงนั้นตรงนี้ครบหมดทุกหน้าที่ เหมือนกับมรรคมีองค์ ๘ สมส่วนสัดกันดี เป็นอริยมรรคคมกล้าตัดกิเลส บรรลุมรรคผล ทำให้ถึงฝั่งโน้น กล่าวคือพระนิพพาน ไม่ต้องตายเสียด้วยอันตรายข้างเรือ เช่น ปลาฉลาม ซึ่งหมายถึงความทุกข์ในวัฏฏสงสาร ญาณที่ถึงพร้อมด้วยองค์แห่งธรรมเช่นนี้ เรียกว่า สัจจานุมิกะญาณ เป็นการพร้อมที่จะบรรลุมรรคผล นับญาณนี้เป็นวิปัสสะนาญาณที่ ๙

มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน) มรรค มีองค์ 8 หรือ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ”

องค์ 8 ของมรรค มีดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและ อกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท 2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป 3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสจุริต 4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่ กายสจุริต 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ 6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน

 

A ship symbolizes a life journey sailing across the sea of sufferings. On one side is the fire of dukkha. On the other side is nibbana in the form of the three crystals in a tray. The ship is our human body; the captain is our mind. The bird is our wisdom giving directions. The eight people represent the Eightfold Path.

The Noble Eightfold Path or the Middle Way (Pali: majjhimā paṭipadā; Sanskrit: madhyamā-pratipad) is the term that Siddhartha Gautama used to describe the character of the path he discovered that leads to liberation. It is a practical guideline to ethical and mental development with the goal of freeing the individual from attachments and delusions; and it finally leads to understanding the truth about all things. Together with the Four Noble Truths it constitutes the gist of Buddhism. Great emphasis is put on the practical aspect, because it is only through practice that one can attain a higher level of existence and finally reach Nirvana. The eight aspects of the path are not to be understood as a sequence of single steps, instead they are highly interdependent principles that have to be seen in relationship with each other.


Wisdom

1. Right Understanding (Samma ditthi)

2. Right Thought (Samma sankappa)

3. Right Speech (Samma vaca)

Ethical Conduct

4. Right Action (Samma kammanta)

5. Right Livelihood (Samma ajiva)

6. Right Effort (Samma vayama)

Mental Development

7. Right Mindfulness (Samma sati)

8. Right Concentration (Samma samadhi)


bottom of page